หลักการควบคุม ป้องกัน และกำจัดสัตว์ ที่เป็นปัญหาในบ้านเรือน หรือทางสาธารณสุข
แมลงเป็นสัตว์ที่อยู่ร่วมกับมนุษย์มาตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ตราบนั้นก็ยังคงมีแมลงอยู่เช่นเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นถึงแม้ว่ามนุษย์จะสูญหายตายจากโลกไปหมด แมลงก็ยังคงมีชีวิตอยู่รอดต่อไปได้อีก
ดังนั้นการทำให้แมลงโดยเฉพาะแมลงซึ่งเป็นปัญหากในบ้านเรือหรือทางสาธารณสุขหมดไปจากถิ่นที่อยู่ที่ทำมาหากินของมนุษย์จึงไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ ประเด็นในการดำเนินการจึงอยู่ที่ว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถควบคุมป้องกัน และกำจัดแมลงให้ได้ดีที่สุดและมากที่สุดและเกิดผลกระทบต่อมนุษย์ ต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เช่นเดียวกับมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ แมลงและสัตว์ที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข เช่น ยุง แมลงวัน ปลวก มด แมลงสาบ ไรฝุ่น และหนู เป็นต้น ต้องการปัจจัยพื้นฐาณสำคัญ ในการดำเนินชีวิต 3 อย่าง ได้แก่ อาหาร น้ำ และที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นวงจรที่มีความสัมพันธ์กัน เสมือนเป็นสามเหลี่ยมแห่งชีวิต (Triangle of life)
ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของแมลง การที่แมลงและสัตว์ดังกล่าวเข้ามาในอาคารบ้านเรือน และสถานประกอบการต่าง ๆ ของมนุษย์ ก็เพื่อเสาะแสวงหาปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิตข้างต้น ดังนั้นการควบคุม ป้องกันและกำจัดให้ได้ผลดี จึงต้องคำนึงถึงการขจัดปัจจัยอันเป็นจุดต้นตอประกอบกันไปกัยการกำจัดโดยวิธีการอื่น ๆ ด้วย นั่นหมายถึงการนำเอาวิธีการจัดการแมลงและสัตว์ (Integrated Pest Management : IPM) มาใช้เพื่อให้บังเกิดผลที่ยั่งยืนและมีความปลอดภัยสูงสุดต่อทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อม แมลงและสัตว์
ในที่นี้หมายถึงแมลงที่มาจากคำว่า Pest ในภาษาอังกฤษ มีคำแปลทีค่อนข้างกว้างในปทานุกรม (Dictionary) อังกฤษเป็นไทยของ สอ เสถบุตร Pest แปลว่า สัตว์ที่รบกวนหรือทำลาย เช่น แมลง โรคร้ายหรือมนุษย์ที่ทำลายความสุขผู้อื่น เพราะฉะนั้นแมลงและสัตว์ที่เป็นปัญหาในบ้านเรือน หรือทางสาธารณสุข จึงเป็นส่วนหนึ่งของ Pest ที่เราจะทำการควบคุมป้องกันและกำจัดเท่านั้น ปัจจุบันการจัดการแมลงและสัตว์ เข้ามามีบทบาทและถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในนานาอารยะประเทศทั้วโลก สมาคม องค์กร ธุรกิจหรือแม้กระทั่งผู้ประกอบการกำจัดแมลงก็เปลี่ยนชื่อเรียก Pest Control เป็นชื่อ Pest Management เช่น สถาบัน National Pest Control Association : (NPCA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น National Pest Management Association : NPCA เป็นต้น
วิธีการจัดการแมลงและสัตว์ ประกอบด้วยขั้นตอนพื้นฐาน 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การสำรวจหรือตรวจ (Inspection)
2. การระบุหรือจำแนกชนิดแมลงและสัตว์ (Identification)
3. การสุขาภิบาล (Sanitation)
4. การจัดการโดยใช้ตั้งแต่ 2 วิธีการขึ้นไป (Application of two or more procedures)
5. การติดตามประเมินผล (Evaluation)
1. การสำรวจหรือตรวจ (Inspection) การสำรวจสภาพปัญหาแมลงและสัตว์แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือการสำรวจก่อนการปฏิบัติงานและภายหลังการปฏิบัติงาน การสำรวจทั้ง 2 ขั้นตอนควรเป็นการสำรวจตามมาตรฐาน การสำรวจอย่างละเอียดถ้วนทั่ว หรือ A thorough survey โดยผู้ปฏิบัติงานจะมีเสื้อผ้าสวมใส่โดยเฉพาะมีอุปกรณ์ป้องกันอนามัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัย เช่น ไฟฉาย ไขควง หลอดเก็บตัวอย่าง กระดานรองเขียน เป็นต้น การสำรวจก่อนการปฏิบัติงานเป็นการสำรวจเพื่อหาการมีอยู่ของแมลง ชนิด จำนวน ความเสียหายจากการทำลาย เพื่อนำมาใช้ในการจัดทำแผนผังของสถานที่ภายในตัวอาคารรวมทั้งสภาพแวดล้อม เพื่อบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการหลบซ่อนอาศัยแหล่งอาหาร และอื่น ๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการเข้ามาระบาดของแมลงและสัตว์ ส่วนการสำรวจภายหลังการปฏิบัติงานเป็นการตรวจติดตามและประเมินผลภายหลังการ ทำบริการ
1.1 วิธีการและจุดที่ควรสำรวจหรือตรวจ
1.1.1 แหล่งที่แมลงชอบหลบซ่อนอาศัย (Pest hot spot) เช่น ล็อกเกอร์พนักงานห้องเก็บของแม่บ้าน ห้องซักรีด ห้องครัว ห้องเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม บริเวณที่ทิ้งขยะ ท่อชาฟท์ และท่อระบายน้ำ เป็นต้น
1.1.2 สอบถามหรือสัมภาษณ์เจ้าของสถานที่ (Client Interview)
1.1.3 การสุ่มตรวจด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น กล่องดัก กล่องหรือกระดาษกาว กับดัก หรือ กรงดัก เป็นต้น
2. การระบุหรือจำแนกชนิดแมลงและสัตว์ (Identification) การระบุหรือจำแนกชนิดในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของแมลงและสัตว์ที่สำรวจพบ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนป้องกันและกำจัด
3. การสุขาภิบาล (Sanitation) ได้แก่ การดูแลด้านสุขวิทยาและการสุขาภิบาล โดยปรับปรุงแก้ไข อาคารบ้านเรือนและสถานที่เพื่อ ทำการปิดกั้นหรือสกัดกั้นไม่ให้แมลงและสัตว์ที่เป็นปัญหาเข้ามาภายในได้รวมทั้งการดูแลจัดการความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ข้อมูลเหล่านี้ส่วนหนึ่งได้มาจากผู้ให้บริการกำจัดแมลงที่มาทำการสำรวจสถานที่ก่อนลงปฏิบัติงานและได้ทำรายงานพร้อมข้อเสนอแนะให้กับฝ่ายผู้รับบริการเพื่อพิจารณาดำเนินการ การสร้างวัฒนธรรมภายในองค์กร โดยการณรงค์ให้พนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วม อาจทำได้โดยการกำหนดระเบียบปฏิบัติตามหลัก 5 ส. เพื่อช่วยให้การควบคุมป้องกันและกำจัด แมลงและสัตว์ประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้นได้ดังนี้
3.1 สะสาง แยกและขจัดของที่ไม่จำเป็นทิ้ง มิให้สกปรกรกรุงรังอันจะเป็นเป็นแหล่ง อาศัยและเพาะพันธ์ของแมลงและสัตว์
3.2 สะดวก จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ มีระยะห่างที่เหมาะสม จัดวางบนชั้นเพื่อให้สามารถสำรวจสอบปัญหาได้โดยง่าย ไม่ควรตั้งวางสิ่งของติดผนังหรือวางบนพื้นโดยตรงควรตั้งวางบนที่รองรับ
3.3 สะอาด ทำความสะอาดอาคารบ้านเรือนและสถานที่ทั้งภายในและภายนอก กำจัดแหล่งน้ำแหล่งอาหารและแหล่งหลบซ่อนอาศัยของแมลงและสัตว์ จัดให้มีการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันการอุดตันหรือ หมักหมมของเศษขยะและอาหาร
3.4 สุขลักษณะ จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ ให้สะอาดปลอดภัยและถูกหลักอนามัย เน้นการดูแลจุดที่สำคัญดังนี้
3.4.1 อุด ปิดกั้น สกัดกั้นโดยปิดทางเข้าออก ซ่อมแซมรอยแตก รอยร้าวหรือรอยทรุดตัวของอาคาร ไม่ให้เป็นแหล่งหลบซ่อนอาศัยของแมลงและสัตว์
3.4.2 จัดที่ทิ้งขยะให้มีฝาปิดมิดชิดและนำมาทิ้งในเวลาอันเหมาะสม ขยะเปียกและขยะจำพวกเศษอาหารควรมีห้องขยะที่สามารถปิดกั้นแมลงและสัตว์ไม่ให้เข้ามาระบาดได้
3.5 สร้างนิสัย ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การจัดความเป็นระเบียบร้อยในหน่วยงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและช่วยกันดูแลสอดส่องไม่ให้มีการระบาดของแมลงและสัตว์ในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง
4. การจัดการโดยใช้ตั้งแต่ 2 วิธีการขึ้นไป (Application of two more procedures) เมื่อได้ดำเนินการในส่วนของการป้องกัน การปิดกั้นและการสุขาภิบาลแล้ว จึงมาถึงการทำการกำจัด แบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้
4.1 การจัดการโดยไม่ใช้สารเคมี
4.1.1 การควบคุมโดยวิธีกล (Mechanical control) เช่น การใช้กาวดัก กล่องหรือกรงดักและเครื่องดักจับแมลงแบบต่าง ๆ
4.1.2 การควบคุมโดยวิธีกายภาพ (Physical Control) เช่น การสำรวจตรวจสอบวัสดุสิ่งของสินค้าและวัตถุดิบที่จะนำเข้ามาจากภายนอกว่ามีแมลงสาบหรือไข่ของแมลงติดเข้ามาด้วยหรือไม่โดยใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดจับแมลง การใช้ไม้ตีหรือช็อต และการใช้สวิงตัก เป็นต้น
4.1.3 การควบคุมโดยวิธีชีววิทยา (Biological Control) โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูทางธรรมชาติ ได้แก่ ตัวห้ำ (Perdators) ตัวเบียน (Parasitoids) และจุลินทรีย์ (Microorganisms) ต่าง ๆ
4.1.4 การควบคุมโดยการใช้วิธีอื่น (Other methods) เช่น การใช้สารไล่ การใช้สารเพศล่อการใช้อาหารล่อ และการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต เป็นต้น
4.2 การจัดการโดยใช้สารเคมี (Chemical Control) หลักการจัดการแมลงและสัตว์นั้น การพิจารณานำสารเคมีมาใช้ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เมื่อการใช้วิธีการอื่นๆ ไม่ประสบผลสำเร็จแล้วเท่านั้น แม้การะนั้นก็ควรเลือกใช้สารเคมีที่มีคาวามเป็นพิษต่ำถึงปานกลาง และนำมาใช้เท่าที่จำเป็นในแต่ละสถานที่เท่านั้น ดังรายละเอียดวิธีการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์แต่ละชนิดที่ได้กล่าวแล้ว
5. การติดตามประเมินผล (Evaluation) การติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติงานเพื่อประเมินระดับการระบาดของแมลงและสัตว์ว่าลดลงหรือไม่เพียงใด โดยการสำรวจด้วยตนเองหรือสอบถามจากเจ้าหน้าที่ พร้อมจัดทำบันทึกรายงานติดตามผลนำเสนอให้ผู้รับบริการหรือเพื่อเก็บไว้อ้างอิงตรวจสอบ ทั้งนี้อาจทำการประเมินผลทุกครั้งที่เข้าดำเนินการหรือเป็นช่วงระยะเวลา ขึ้นอยู่กับความจำเป็นหรือเงื่อนไขข้อตกลงจะเห็นได้ว่าการกำจัดแมลงและสัตว์ให้ได้ผลและได้ประโยชน์สูงสุดนั้น ไม่มีหลักการหรือวิธีการใดที่จะสมบูรณ์ไปกว่าวิธีการจัดการแมลงและสัตว์ดังกล่าวมาแล้าวช้างต้นทั้งหมด เพราะนอกจากจะช่วยลด ปัญหาผลกระทบจากการใช้สารเคมีต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยให้เกิดการ ประหยัด ปลอดภัย และยังช่วยป้อง กันปัญหาแมลงต้านทานต่อสารเคมีได้อีกทางหนึ่งด้วยปัจจัยที่ทำให้การจัดการแมลงและสัตว์เป็นไปด้วยความลำบาก ในการนำเอาวิธีการจัดการแมลงและสัตว์มาใช้ในการดำเนินการ โดยมุ่งหวังที่จะให้ได้ผลสำเร็จนั้น ยังมีปัจจัยหรือตัวแปรสำคัญอื่นที่เป็นอุปสรรค ดังนี้
1. วัตถุดิบหรือหีบห่อที่นำเข้ามาจากข้างนอกอาจนำแมลงและสัตว์เข้ามาสู่สถานที่ได้
2. กลิ่นอาหารต่างๆ จากอาคารบ้านเรือนและสาถานประกอบอาหารย่อมดึงดูดแมลงและสัตว์ให้เข้ามายังสถานที่นั้นๆ ได้
3. แสงไฟส่องสว่างโดยรอบอาคารบ้านเรือนและสถานที่ทำให้แมลงกลางคืนบินเข้าหาและอาจบินเข้ามาสู่บริเวณภายในได้
4. อาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความอบอุ่นหรือเป็นพื้นที่ที่มีความอับชื้นเหมาะต่อการเข้ามาระบาดลุกลามของแมลง
5. เครื่องจักรกล ฝาประกันและช่องว่างต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคารบ้านเรือน เป็นสถานที่ที่แมลงและสัตว์ใช้เป็นที่หลบซ่อนอาศัยได้
6. อาคารบ้านเรือนที่เก่า อุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีอายุในการใช้และอยู่ในสภาพเก่าแล้ว ยากแก่การบำรุงรักษาและทำความสะอาด
7. สถานที่ซึ่งมีการผลิตหรือปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้การดำเนินมาตรการเพื่อการจัดการแมลงเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น
8. ฝุ่น คราบไขมัน อุณหภูมิที่สูงและความชื้นอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ประสิทธิภาพของสารเคมี ด้อยลง
9. มาตรการในการทำความสะอาดบ้านเรือนและสถานที่ ทำให้เกิดการชะล้างทำลายการตกค้างของสารเคมี
10. การทำความสะอาดและรถโฟล์คลิฟท์ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ทำลายแมลงบางชนิด และอุปกรณ์ดักหนูอย่างรวดเร็ว
11. ข้อกำหนดในการไม่อนุญาตให้ใช้สารเคมีในสถานที่ประกอบอาหารบางประเภทหรือหน่วยราชการที่กำกับดูแล ทำให้ไม่สามารถใช้สารเคมีช่วยในการกำจัดได้
12. เจ้าของบ้านหรือผู้บริหารของสถานที่ลังเลใจที่จะใช้เงินในการจัดการแมลง ดังนั้น การดำเนินการเพื่อขจัด หรือลดอุปสรรคกีดขวางความสำเร็จทั้งหลายข้างต้น ยิ่งขจัดให้ลดได้มากเท่าใด ก็ย่อมจะทำให้เกิดการกำจัดแมลงและสัตว์ ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
|