บทความ เรื่องของยุง
ยุงเป็นสัตว์ที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุของมนุษย์อย่างมาก นอกจากจะทำให้เกิดความรำคาญแล้ว ยังเป็นพาหะนำโรคร้ายต่าง ๆ มากมายที่ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตจำนวนมากในแต่ละปี เช่น โรคมาลาเรีย โรคไข้เลือดออก โรคไข้เหลือง โรคเท้าช้าง โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น เรื่องราวของยุงจึงได้มีการศึกษากันมากมาย ในวันนี้จึงขอนำเรื่องของยุงมาเล่าสู่กันฟัง 2 เรื่อง ได้แก่ 1. ทำไมยุงจึงชอบบินมาอยู่บริเวณหู 2. ทำไมแต่ละคนจึงถูกยุงกัดไม่เท่ากัน
1. ทำไมยุงจึงชอบบินมาอยู่บริเวณหู ถ้าหากทุกท่านได้ลองสังเกตดูจะเห็นว่าในขณะที่มียุงกัดนั้น ยุงจะบินมาตอมที่ทุกส่วนของร่างกายโดยเฉพาะบริเวณหู มีรูหูซึ่งเป็นที่มีแสงสว่างอยู่ค่อนข้างน้อย ทำให้ยุง(ซึ่งเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบแสงสว่าง)บินมาตอมบริเวณนี้มากที่สุด ทำให้เราได้ยินเสียงหวี่ ๆ เกิดขึ้น เสียงนี้เกิดจากการกระพือของปีกยุงจึงเกิดการสั่นสะเทือนในอากาศและเกิดเป็นคลื่นเสียงมากระทบหูของเรา อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ได้มีการทดลองบันทึกเสียงกระพือปีกของยุงตัวผู้แล้วนำไปเปิดเสียงในเครื่องดักยุงจะพบว่ามียุงตัวเมียบินมาตามเสียงนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าเลี้ยงกระพือปีกของยุงตัวผู้จะใช้ประโยชน์เพื่อเรียกยุงตัวเมียให้หานั่นเอง
2. ทำไมแต่ละคนจึงถูกยุงกัดไม่เท่ากัน การที่แต่ละคนถูกยุงกัดไม่เท่ากันนั้นเนื่องจากมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องหลายประการ โดยเฉพาะปัจจัยในเรื่องรูปร่างและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กล่าวคือ ผู้ที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ก็จะมีพื้นที่ให้ยุงกัดได้ง่ายกว่าที่ผู้มีรูปร่างขนาดเล็ก ผู้ชายส่วนมากจะมีรูปร่างขนาดใหญ่มากกว่าผู้หญิง จึงมีโอกาสถูกยังกัดได้มากกว่าด้วย นอกจากนี้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ร่างกายปล่อยออกมาก็มีส่วนช่วยชักนำให้ยุงมากัดเช่นกัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นผลพลอยได้จากขบวนการหายใจของร่างกาย ร่างกายจึงขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาตลอดเวลา ถ้าหากร่างกายมีการเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายก็จะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากกว่าปกติจึงชักนำยุงมากัดได้มากด้วย ดังนั้นในขณะที่ถูกยุงกัดและพยายามตบยุงหรือพยายามเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อไล่ยุงจะทำให้ร่างกายขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามาก จึงมีโอกาสที่จะถูกยุงกัดได้มากด้วยครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------
บทความ เรื่องของยุงลาย
พาหะนำโรคไข้เลือดออกยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกเป็นแมลงจำพวกหนึ่งที่สำคัญมีอยู่ 2 ชนิด คือ ยุงลายบ้านและ ยุงลายสวน ยุงลายเป็นยุงที่มีขนาดปานกลาง วงจรชีวิตของยุงลายประกอบด้วยระยะต่างๆ 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่, ระยะตัวอ่อนหรือลูกน้ำ, ระยะดักแด้หรือตัวโม่ง, และ ระยะตัวเต็มวัยหรือตัวยุง ทั้ง 4 ระยะมีความ แตกต่างกัน ทั้งรูปร่างลักษณะและการดำรงชีวิต ลักษณะสำคัญทั่วไปของยุงลาย คือ
-ระยะตัวเต็มวัย (ตัวยุง)
1. ร่างกายอ่อนนุ่ม เปราะบาง แบ่งเป็น 3 ส่วนแยกออกจากกันเห็นได้ชัดเจนคือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ลำตัวยาวประมาณ 4-6 มม. มีเกล็ดสีดำสลับขาวตามลำตัวรวมทั้งส่วนหัวและส่วนอกด้วย 2. มีขา 6 ขาอยู่ที่ส่วนอก ขามีสีดำสลับขาวเป็นปล้องๆ ที่ขาหลังบริเวณปลายปล้องสุดท้ายมีสีขาวตลอด 3. มีปีกที่เห็นได้ชัดเจน 2 ปีกอยู่บริเวณส่วนอก ลักษณะของปีกบางใส มีเกล็ดเล็กๆบนเส้นปีก ลักษณะของเกล็ดแคบ ยาว บนขอบหลังของปีกมีเกล็ดเล็กๆเป็นชายครุย นอกจากนี้ที่ส่วนอกยังมีอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวอยู่ใกล้กับปีก 4. มีปากยาวมาก ลักษณะปากเป็นแบบแทงดูด 5. เส้นหนวดประกอบด้วยปล้องสั้นๆ 14-15 ปล้อง ที่รอยต่อระหว่างปล้องมีขนขึ้นอยู่โดยรอบ ในยุงตัวผู้เส้นขนเหล่านี้ยาวมาก (ใช้รับคลื่นเสียงที่เกิดจากการขยับปีกของยุงตัวเมีย) มองดูคล้ายพู่ขนนก ส่วนในยุงตัวเมียเส้นขนที่รอยต่อระหว่างปล้องจะสั้นกว่าและมีจำนวนน้อยกว่า ลักษณะของหนวดยุงจึงใช้ในการจำแนกเพศ ของยุงได้ง่าย ยุงลายบ้าน ยุงลายสวน -ระยะไข่ ไข่ยุงลายมีลักษณะรีคล้ายกระสวย เมื่อวางออกมาใหม่ๆจะมีสีขาวนวล ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและดำสนิทภายใน 24 ชั่วโมง -ระยะลูกน้ำ ไม่มีขา ส่วนอกมีขนาดใหญ่กว่าส่วนหัว ส่วนท้องยาวเรียวประกอบด้วยปล้อง 10 ปล้อง มีท่อหายใจอยู่บนปล้องที่ 8 และมีกลุ่มขน 1 กลุ่มอยู่บนท่อหายใจนั้น -ระยะตัวโม่ง ไม่มีขา มีอวัยวะสำหรับหายใจอยู่บนด้านหลัง (บริเวณที่เป็นส่วนหัวรวมกับส่วนลำตัว) |