มด /ANTS
มด เป็นแมลงชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยพบมดทั้งหมด 9 วงศ์ย่อย 86 สกุล 512 ชนิด มดจัดเป็นแมลงสังคมชั้นสูงที่มีความเป็นอยู่แตกต่างจากแมลงอื่น ๆ มีการ
ติดต่อสื่อสารและการแบ่งชั้นวรรณะแยกออกจากกันให้เห็นชัดเจนทั้งรูปร่าง ลักษณะและหน้าที่ ความสำคัญของมด 1.ทำลายพืชผลทางการเกษตร ในแปลงปลูกและโรงเก็บ 2. ก่อความรำคาญและความเสียหายในบ้านเรือนโดยมามีส่วนแบ่งในอาหารและที่อยู่อาศัยกับคน 3.ทำอันตรายมนุษย์บางชนิดสามารถต่อยและกัดทำให้เกิดความเจ็บปวด แพ้ หรือติดเชื้อ 4.เป็นพาหะนำโรค ทางเดินอาหาร ชีววิทยาของมด สามารถแบ่งลำตัวออกได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1.ส่วนหัว เป็นที่ตั้งของอวัยวะสำคัญบางชนิด ได้แก่ - หนวด : แบบหักศอก - ตา : ตาเดี่ยว,ตารวม - ปาก : แบบกัดกิน 2. ส่วนอก - ขา แบบเดิน - ปีก แบบ Membrane 3. ส่วนท้อง -อวัยวะสืบพันธุ์ สังคมของมด มดเป็นแมลงสังคมที่แท้จริง (Eusocial insect) อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (colony) ในแต่ละชนิด มีหลายรุ่นใน 1 กลุ่ม ภายใน กลุ่ม
แบ่งออกเป็นวรรณะต่างๆ ดังนี้ วรรณะต่างๆของมด 1.วรรณะสืบพันธุ์ - มดแม่รังหรือมดราชินี มี 1 หรือมากกว่า 1 ตัว เป็นเพศเมียที่สืบพันธุ์ได้ มีขนาดใหญ่กว่ามดตัวอื่นที่อยู่ในรัง มีปีก อกหนา ท้องใหญ่ มีตาเดี่ยวสามารถสืบพันธุ์ได้ทำหน้าที่สร้างรังไข่ และวางไข่ - มดเพศผู้ จะมีปีก ส่วนอกหนา มีหน้าที่ผสมพันธุ์ 2. วรรณะงาน เป็นมดเพศเมียที่เป็นหมัน ไม่มีปีก ไม่มีตาเดี่ยวเป็นมดที่ออกหาอาหาร และยังมีหน้าที่สร้างรัง ดูแลตัวอ่อนและราชินี 3. วรรณะทหาร เป็นมดเพศเมียที่เป็นหมัน ไม่มีปีก ไม่มีตาเดี่ยว และมีขนาดใหญ่กว่ามดงาน มีหน้าที่ป้องกันรังจากศัตรู นิเวศวิทยา พฤติกรรมของมดมีหลายด้าน ได้แก่ - พฤติกรรมการผสมพันธุ์และการสร้างรัง - พฤติกรรมการหาอาหาร - พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร - พฤติกรรมการใช้เสียง
พฤติกรรมการผสมพันธุ์และสร้างรัง มดตัวเมียและเพศผู้ที่มีหน้าที่สืบพันธุ์จะบินออกจากรังเพื่อค้นหาคู่จากรังอื่นๆในบริเวณใกล้เคียง ราชินีจะค้นหาที่สำหรับผสมพันธุ์ เมื่อพบคู่และผสมพันธุ์แล้วมดราชินีก็จะหา
แหล่งที่อยู่เพื่อวางไข่ โดยมดรุ่นแรกจะเป็นมดงาน เมื่อภายในรังมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นมดตัวเมียและเพศผู้ที่มีหน้าที่สืบพันธุ์จะบินออกจากรังเพื่อค้นหาคู่สร้าง
อาณาจักรใหม่ต่อไป พฤติกรรมการหาอาหาร - การหาอาหารค่อนข้างกว้าง,กินได้ทั้งเมล็ดพันธุ์ พืชและดูดกินอาหารที่เป็นของเหลว - ออกหาอาหารทั้งกลางวันและกลางคืน พฤติกรรมการสื่อสารของมด ใช้สาร พีโรโมน เป็นตัวสื่อสาร การบอกทาง การเตือนภัย การผสมพันธุ์ และบางชนิดมดตัวอ่อนสามารถปล่อยฟีโรโมนกระตุ้นให้มดงานป้อนอาหารให้มันเมื่อรู้สึกหิว โดย
อาศัยหนวดและขาคู่หน้า 1. อาหารที่มดชอบกินมาก ได้แก่ แมลง น้ำตาล 2. มีการสะสมอาหาร 3. มี 2 กระเพาะ หน้าเก็บน้ำหวาน หลังกระเพาะที่แท้จริง 4. ยกวัตถุได้หนักถึง 5เท่าของน้ำหนักตัว ลากวัตถุได้ หนักถึง 25 เท่าของน้ำหนักตัว 5. สร้างรังลึก 4 เมตร 6. มีราชินี 1 ตัว ตัวผู้จะตายหลังผสมพันธ์ ชนิดมดที่สำคัญ 1. มดคันไฟ (Sclerosis Geminate) - มีสีเหลืองแดง มีขนที่หัวและตัว - อกแคบ - ท้องรูปไข่มีลายขวางสีน้ำตาล - ทำรังอยู่ใต้ดินที่ร่วนซุย - กินแมลงและซากสัตว์เล็ก ๆ เป็นอาหาร - มักใช้เหล็กในต่อย ผู้ถูกต่อยจะรู้สึกเจ็บแสบคล้ายถูกไฟลวก จึงเรียกมดคันไฟ
2. มดละเอียด (Monopodium indium) - มีสีแดงสนิมปนสีน้ำตาลเข้ม - อกยาวแคบ - ทำรังในดิน พบตามบ้านที่อยู่อาศัย - ชอบกินของหวาน - เคลื่อนไหวรวดเร็ว - มักพบเดินตามกำแพง - เมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยการกัด 3. มดละเอียด (Monomorium Pharaonis) - มีสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลอ่อนหรือสีแดงสว่างใส - ท้องมีสีเข้มเกือบดำ ตาเล็ก - อกยาวแคบ มีขนปกคลุมทั่วร่างกาย - ความยาว 1.5 - 2 มิลลิเมตร - ชอบทำรังอยู่ใกล้แหล่งอาหาร และสามารถแตกเป็นรังย่อย - มีเหล็กใน แต่ไม่ปรากฎให้เห็น 4. มดเหม็น (Tapinoma -Melanocephalum) - หัวและอกสีดำ ท้องสีน้ำตาลอ่อน - ทำรังบนดินร่วนบริเวณโคนต้นไม้ - เมื่อเข้ามาหาอาหารในบ้านเรือนจะขับถ่ายมูลทำให้เกิดการปนเปื้อนในอาหารและมีกลิ่นเหม็น 5. มดดำ (Paratrechina Longicornis) - มีสีน้ำตาลเข้มบางส่วนสีดำ ขนสีน้ำตาลเหลืองปกคลุม - อกแต่ละปล้องมีเส้นแบ่งชัดเจน - ขายาวมาก - ท้องรูปไข่ - เป็นมดที่เคลื่อนที่ได้เร็วมาก - เป็นมดที่ทำให้เกิดความรำคาญมากกว่าอันตราย 6. มดง่าม (Pheidologeton diversus) - มีสีน้ำตาลเข้ม กรามใหญ่ - ท้องกว้างรูปไข่ - ความยาว 4.5-13 มิลลิเมตร - ทำรังในดินร่วน - กินแมลงและเนื้อสัตว์เป็นอาหาร - ทำอันตรายต่อคนโดยการกัดอาการจะคล้ายคลึงกับคนที่ถูกมดคันไฟต่อยมาก
7. มดแดง (Oceophylla Smaragdina) - มีสีแดงสนิม - อกยาว คอดคล้ายอาน กลม - ขาเรียวยาว - ทำรังบนต้นไม้ใหญ่ ใช้ใบประกอบเป็นรัง - เมื่อถูกรบกวนจะทำอันตรายคนโดยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บปวดมาก 8. มดตะนอย (Tetraponera Rufonigra) - มีสีดำปนน้ำตาลเหลือง - มีขนกระจายบาง ๆ ไม่เป็นระเบียบ - ท้องรูปไข่ปลายแหลมโค้ง มีเหล็กในที่ปลาย - ทำรังอยู่ในต้นไม้ใหญ่ที่ตายแล้ว - เป็นพวกกินเนื้อเป็นอาหาร - จะต่อยโดยใช้เหล็กใน ผู้ถูกต่อยจะปวดคล้ายถูกผึ้งต่อย วิธีการป้องกันกำจัดมด 1. การควบคุมโดยวิธีกล 2. การควบคุมโดยการปรับสภาพแวดล้อม 3. การควบคุมโดยใช้สารเคมี - น้ำส้มสายชูหยอด - สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ที่
เช่น Cypermethrin - สารกลุ่ม คาบาเมต เช่น โปรพ็อกเซอร์ 4. การควบคุมโดยการใช้วิธีผสมผสาน
|