หนู
เป็นศัตรูที่สำคัญของมนุษย์ หนูทำลายพืชผลและพยายามจะเข้าร่วมในที่อยู่อาศัย ของ มนุษย์และนำความเสียหายนานาประการ แก่เศรษฐกิจของมนุษย์เป็นจำนวนมหาศาล ทั้งทางตรงและทางอ้อม ความเสียหายทางตรงที่เด่นชัด คือการกัดแทะกินพืชผลที่มนุษย์ปลูก ตั้งแต่ในไร่นา ตลอดจนทำให้เกิดการปนเปื้อนในที่เก็บรักษา ในระหว่างการขนส่งและการ แปรรูปผลิตผล จนกระทั่งอยู่ในมือผู้บริโภค นอกจากพืชผลทางการเกษตรแล้ว ผลิตภัณฑ์ เครื่องอุปโภคและบริโภค ของมนุษย์ยังถูกหนูกัดแทะทำลายอีกด้วย นอกจากนี้หนูยังเป็น สัตว์พาหะสำคัญที่นำโรคหลายชนิด สู่คนและสัตว์เลี้ยง อย่างเช่น โรคไข้ฉี่หนู โรคไข้หนู กาฬโรค โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น ส่วนความเสียหายทางอ้อมมักเกิดจาก การกัดแทะเพื่อลับฟันของหนูต่อสิ่งก่อสร้าง อาคาร บ้านเรือนของใช้ต่างๆ และสายไฟและ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในอาคารทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต และ ทรัพย์สินของมนุษย์ รวมทั้งการขุดรูอาศัยภายใต้อาคาร ตามคันดิน คันคลอง หรือในท่อระ บายน้ำเสีย ทำให้พื้นอาคารทรุด ดินฝั่งตลิ่งทรุด เกิดการอุดตันในท่อระบายน้ำ ซึ่งการทำลาย ที่เกิดขึ้นนี้เสียหายคิดเป็นมูลค่ามหาศาลในปีหนึ่งๆ
ลักษณะที่สำคัญ อุปนิสัยและความสามารถของหนู
1. หนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 4 เท้า ที่มีขนาดเล็ก สามารถดำรงชีวิตได้ดีตั้งแต่บริเวณอาร์กติก ไปจนถึงเขตร้อนชื้น ทะเลทรายและภูเขาทรายและมีความ หลากหลายในเรื่องของอาหาร จึงทำให้พบแพร่กระจายเกือบทั่วโลก
2. หนูมีฟันแทะ 2 คู่ คือที่กรามบน 1 คู่ และอีก 1 คู่อยู่ที่กรามล่าง ทำให้มีนิสัยการกินแบบกัดแทะ เนื่องจากส่วนเคลือบฟันของฟันแทะมีความแข็งแกร่งมาก ซึ่งมีค่า Mohs scale เท่ากับ 5 ในขณะที่ค่าความแข็งของตะกั่วสังกะสีและเหล็กมีค่าเท่ากับ 1.5 ,2.5 และ 4.5 ตามลำดับ ส่วนเนื้อฟันของฟันแทะซึ่งอยู่ ด้านหลังของเคลือบฟันจะสึกกร่อนได้ง่ายกว่า ดังนั้นการกัดแทะกินอาหารหรือสิ่งของต่างๆ ของหนูจะส่งผลให้เนื้อฟันด้านหลังกร่อนมากกว่าเคลือบฟัน ด้านหน้า จึงทำให้ฟันแทะมีลักษณะคล้ายสิ่ว ด้วยเหตุนี้หนูจึงสามารถกัดแทะไม้ ปูน พลาสติก โลหะ หรือสายไฟเคเบิ้ลได้ไม่ยากนัก เนื่องจากฟันแทะของ หนูงอกยาวได้ตลอดชีวิตเฉลี่ยประมาณปีละ 5 นิ้ว ฟันที่ยาวขึ้นมากนั้นจะทำให้กินอาหารไม่ได้ เพื่อไม่ให้ฟันแทะคู่หน้ายาวเกินไปจึงทำให้มันมีนิสัยชอบ กัดแทะสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในทางเดินของมัน เช่น ไม้ สายไฟ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารที่กินได้ ทั้งนี้เพื่อให้ฟันแทะคมและยาวพอเหมาะที่จะกินอาหารได้
3. หนูมีประสาทสัมผัสและรับความรู้สึกที่ดีมาก ปกติหนูเป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางคืน แต่บางครั้งเมื่ออาหาร ขาดแคลนหรือมีประชากรหนูมากก็อาจทำให้หนูบางตัวต้องออกหากินในเวลากลางวัน สิ่งที่ช่วยให้หนูสามารถ ออกหากินในเวลากลางคืนได้เป็นอย่างดี คือ หนวด ซึ่งอยู่บริเวณด้านข้างใกล้จมูกทั้ง 2 ข้าง อุ้งตีนทั้ง 4 ขาและที่มี ความยาวขนอื่นๆ บริเวณใต้ท้องของลำตัวหนูซึ่งบริเวณเหล่านี้มีประสาทสัมผัสที่ไวมาก หนูจะใช้หนวดในการคลำ ทางหาอาหาร ส่วนขนที่ใต้ท้องและการสัมผัสของอุ้งตีนบนพื้นผิวที่มันวิ่งผ่าน จะช่วยให้หนูเรียนรู้และจดจำถึง สภาพพื้นที่ที่มันวิ่งผ่านได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหนูมักจะออกหากินไปตามทางเดิมอยู่เสมอทำให้เกิดเป็นรอยทางเดินนอกจากประสาทสัมผัสที่ไวมากที่ขนดังกล่าวแล้ว หนูยังมีจมูกที่มีประสาทรับกลิ่นต่างๆ ที่ดีเยี่ยม ใช้ดมกลิ่นเพื่อค้น หาแหล่งอาหารที่อยู่ไกลๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ประสาทในการชิมรสอาหารที่ลิ้นก็ไวมากสามารถตรวจหรือรู้รส แปลกปลอมที่เป็นพิษในอาหารได้โดยง่าย จึงทำให้หนูเกิดการเข็ดขยาดต่อเหยื่อและจดจำได้นาน 2-5 เดือน
4. หนูสามารถส่งเสียงและรับฟังเสียงที่มีความถี่สูงถึง 45 Khz (ultrasound) ในการสื่อสารเรื่องตำแหน่งแหล่งอาหารหรืออันตรายได้ในระยะไกลๆ
5. การมองเห็นภาพต่างๆ ของหนูไม่ดีนักเมื่อเทียบกับสายตามนุษย์ เนื่องจากระบบโครงสร้างในการมองเห็นภาพและการรับแสงของมัน ถูกสร้างขึ้นให้มี ลักษณะคล้ายนิ้วมือซึ่งมีพื้นที่รับแสงมากขึ้น จึงเหมาะต่อการหากินในเวลากลางคืนและมีเซลล์รอดเท่านั้นที่ทำหน้าที่ในการรับภาพ แต่ไม่สามารถให้ข้อ มูลเกี่ยวกับสีได้ จึงทำให้ภาพที่มองเห็นเป็นสีขาวดำเท่านั้น
6. หนูเป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำและดำน้ำได้เป็นอย่างดีเพราะจมูกหนูมีลักษณะงองุ้มและมีแผ่นเยื่อตาปิดตา ขณะที่ดำน้ำ ได้มีการศึกษาความสามารถในการดำน้ำของ หนูนอรเวพบว่าสามารถดำน้ำได้นานคราวละ 30 วินาที ในอเมริกา พบว่าหนูชนิดนี้สามารถดำน้ำผ่าน ท่อระบายน้ำจากนอกบ้านเข้าไปในบ้านได้ ปกติแล้วหนูสามารถว่ายน้ำได้เป็นระยะทางไกล 600-1,000 เมตร และได้นาน 3-4 ชั่วโมง
7. หนูสามารถกระโดดได้สูงถึง 36 นิ้ว (1 เมตร) และกระโดดได้ไกลถึง 48 นิ้ว (1.2 เมตร) จากพื้นที่ราบและสามารถกระโดดได้จากพื้นที่สูง 15-50 ฟุต (5-15 เมตร) ลงสู่พื้นล่างได้อย่างปลอดภัย และได้ไกลอย่างน้อย 8 ฟุต (ประมาณ 2 เมตร)
8. หนูมีหางใช้บังคับทิศทางและการทรงตัว จึงทำให้ปีนป่ายในแนวดิ่งได้ดีหรือเดินไต่ลวดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.6 มิลลิเมตรได้เป็นระยะทางหลายเมตรชนิดของหนูที่พบตามแหล่งอาศัย 2 ชนิด คือ
1. หนูป่าหรือหนูนา
- หนูเหล่านี้พบในธรรมชาติ ในสภาพพื้นที่ป่าทุ่งหญ้าหรือตามแหล่งที่มีการปลูกพืช กินเมล็ดพืช รากพืช ใบ ผลของพืช แมลง หอย ปู ปลา เป็นต้น เป็นอาหารหนูหลายชนิดขุดรูอาศัยในดิน เช่น หนูในสกุลหนูพุก หนูสกุลท้องขาว เป็นต้น บางชนิดอาศัยอยู่ตามกอหญ้าหรือขุดรูตามรอยแตกของหน้าดิน เช่น หนูหริ่งนา เป็นต้น และบางชนิดอาศัยอยู่ในรังนกเก่าๆ หรือในโพรงต้นไม้ หรือบนต้นไม้ เช่น หนูมือลิง หนูสกุลท้องขาว เป็นต้น
2. หนูบ้านหรือหนูในแหล่งชุมชนหรือหนูในเมือง
-เป็นหนูที่พบอาศัยอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุดในแหล่งชุมชน หรือในเมืองกินอาหารเกือบทุกชนิด ที่มนุษย์กินได้และเหลือทิ้ง มีทั้งที่สามารถขุดรูอาศัยในดินหรือหลบซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆ ทั้งในบ้านและ นอกอาคาร หรือในท่อระบายน้ำ หรือในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หนูเหล่านี้ชอบกัดแทะทำลายของกินและของ ใช้ต่างๆ ทั้งในบ้านเรือนและอาคารสถานที่ต่างๆ จึงเป็นตัวการสำคัญในการนำโรคสู่มนุษย์ ตลอดจน การเกิดเพลิงไหม้อันเนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร ได้แก่ หนูสกุลท้องขาว และหนูสกุลหนูหริ่ง เป็นต้นในประเทศไทยหนูที่พบในเขตเมืองหรือแหล่งชุมชนต่างๆ เป็นหนูสกุลท้องขาว มี 3 ชนิดดังนี้
หนูนอรเว เป็นหนูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลนี้ กินอาหารได้ทุกประเภทหากมีอาหารดีมากและเพียงพออาจทำให้หนูชนิดนี้มี ขนาดใกล้เคียงหนูพุก มีน้ำหนักตัวประมาณ 200-500 กรัม หนูชนิดนี้มีชื่อเรียกขานหลายชื่อตามแหล่งที่อยู่อาศัย หรือแหล่งที่ออกหากิน เช่น หนูท่อ หนูขยะ หนูท่าเรือและหนูเลา เป็นต้น ปกติชอบขุดรูอาศัยในดินใกล้กองขยะหรือใต้ถุนบ้านหรือสนามบ้าน ที่ปากรูมีขุยดินกองใหญ่คล้ายของหนูนา แต่อาจพบอาศัยในท่อระบายน้ำในแหล่ง ชุมชน ตลาด มีความยาวหัวรวมลำตัวประมาณ 233 มิลลิเมตร หางสั้นกว่ายาวประมาณ 201 มิลลิลิตร และมี 2 สี ด้านบนสีเข้มกว่าด้านล่าง หน้าจะป้านหรือทู่กว่าหนูท้องขาวบ้าน มีตาและใบหูเล็กกว่าเช่นกัน ขนด้านท้องสีเทา ด้านหลังขนสีน้ำตาลหรือสีดำ ตีนหลังใหญ่และมีขนขาวตลอด (44มิลลิเมตร) เพศเมียมีเต้านม 3 คู่ที่อก และ 3 คู่ที่ท้องพบทั่วประเทศในเขตเทศบาลเมืองทุกแห่ง อาจพบในพื้นที่ทำการเกษตรที่ติดต่อกับเขตชุมชนใหญ่ เป็นพาหะ นำโรคที่สำคัญหลายชนิดสู่มนุษย์และสัตว์เลี้ยง หนูนอรเวชอบอาศัยใกล้แหล่งน้ำเป็นกลุ่มๆ หนูเพศผู้ที่มีขนาด ใหญ่และแข็งแรงมักจะเป็นจ่าฝูง และเลือกที่อยู่และกินอาหารที่ดีที่สุดได้ก่อนและกำหนดเขตถิ่นอยู่อาศัย โดยใช้ ปัสสาวะและไขมันจากขนในแต่ละกลุ่มมีหนูเพศเมียมากกว่า 1 ตัว ลูกหนูและอาจมีหนูเพศผู้ตัวอื่นๆ ที่อ่อนแอกว่า เป็นหนูที่มีนิสัยดุร้ายโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการแย่งถิ่นอาศัย อาหาร และหนูเพศเมีย ปกติแล้วหนูที่โต เต็มที่จะ กินอาหาร 20-30 กรัมต่อคืน (ประมาณ 10% ของน้ำหนักตัว) และสามารถเดินทางในแต่ละคืนเป็น ระยะทางไกล 2-3 กิโลเมตร เพื่อหาอาหาร
หนูท้องขาวบ้าน หนูชนิดนี้มีความหลากหลายในเรื่องของสีสันขึ้นอยู่กับภูมิประเทศที่พบ น้ำหนักตัวเต็มวัยอยู่ระหว่าง 90-250 กรัม ความยาวหัวรวมลำตัวเท่ากับ 182 มิลลิเมตร ปกติสีขนด้านหลังเป็นสีน้ำตาลและกลาง หลังมีขนแข็งสีดำแทรกอยู่ ขนด้านท้องสีขาวครีม บางครั้งมีแถบขนสีน้ำตาลคล้ำยาวจากส่วนคอถึง กลางอก ขนบริเวณตีหลัง ส่วนใหญ่ยาว และมีขนดำแทรกปะปนบ้าง หางดำตลอดและมีเกร็ดละเอียด เล็กๆ และยาวกว่าความยาวหัวรวมลำตัว (188 มิลลิ เมตร) จมูกแหลมจึงทำให้ส่วนใบหน้าค่อนข้าง แหลม ใบหูใหญ่ ตาโต เพศเมียมีเต้านม 2 คู่ที่อก และ 3 คู่ที่ท้อง (ในบางแห่ง เพศเมียมีเต้านม 3 คู่ แต่คู่ที่ 3 อยู่ชิดกับคู่ที่ 2 หรือห่างกันน้อยกว่า 1 เซนติเมตร) ปีนป่ายเก่งมาก พบทั่วประเทศ ตามเพดานของบ้านเรือนและอาคารต่างๆ ยุ้งฉาง นาข้าว ในสวนผลไม้ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ปกติไม่ชอบขุดรูอาศัยในดิน มักอาศัยอยู่บนต้นไม้ หรือบนที่สูง หรือใต้หลังคา ในห้องต่างๆ ของอาคาร แต่ถ้าขุดรูอาศัยในดิน มักไม่มีขุยดินบริเวณปากรูทางเข้าหรือมีขุยดินน้อย มาก ชอบกินผลไม้ ผักและเมล็ดพืช มากกว่าเนื้อสัตว์ พฤติกรรมการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก พบใน หนูชนิดนี้เช่นเดียวกันกับหนูนอรเว หนูท้องขาว มีชื่อเรียกต่างๆ ตามแหล่งอาศัยเช่นกัน เช่น หนูหลังคา หนูเรือ และหนูบ้าน เป็นต้น หนูชนิดนี้มีรูปร่างที่เพรียว กว่า หนูนอรเว และชอบอาศัยอยู่ในที่แห้งและสูง เช่น ใต้หลังคาบ้านหรือตามขื่อแปของโรงเก็บอาหารสำเร็จรูปต่างๆ บนต้นไม้ เป็นต้น ในขณะที่หนูนอรเวชอบอาศัยที่ชื้น เช่น ใต้อาคารหรือขุดรูอยู่บริเวณนอกบ้าน หนูชนิดนี้มีความดุร้าย ก้าวร้าวน้อยกว่าหนูนอรเว ปกติแล้วมักจะละการต่อสู้ด้วยการวิ่งหนีจากไป หรือย้ายแหล่งที่อยู่
หนูจี๊ด เป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกุล มีน้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 27-60 กรัม ความยาวหัวรวมลำตัวเท่ากับ 115 มิลลิเมตร ตาโต ใบหูใหญ่ ตีนหลังยาวประมาณ 23เซนติเมตร หางยาวกว่าหัวและลำตัวมาก(128 มิลลิเมตร) และมีสีเดียวตลอด ขนด้านหลังมีสีน้ำตาลแก่ ขนด้านท้องสีเทา เพศเมียมีเต้านม 2 คู่ บริเวณอกและ 2คู่ที่บริเวณท้อง ชอบอาศัยในที่แห้งตามบ้านเรือนโดยเฉพาะ ในห้องครัว ในห้องเก็บของ ในตู้ ลิ้นชัก และยุ้งฉางทั่วประเทศ อาจพบทำลายพืชผลไม้ในไร่นา ไร่สวนบ้าง ในหมู่บ้านที่ติดกับพื้นที่ทำการเกษตร เช่นเดียวกับหนูนอรเว หนูชนิดนี้กินอาหารได้เกือบทุกประเภท |